วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

หน้าที่ของส.ส.
          1. ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน
          2. เป็นผู้เลือกส.ส.ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
          3. ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล
          4. อนุมัติงบประมาณแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศ
          5. นำปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนเสนอต่อรัฐบาล

การเตรียมความพร้อมก่อนไปเลือกตั้ง
          1. ตรวจสอบชื่อ-นามสกุล และที่เลือกตั้งได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตกทม., อบต. และเอกสารที่ส่งถึง
              เจ้าบ้าน
          2. หากพบชื่อตกหล่นหรือเกินมา ให้แจ้งเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ที่นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น
              ภายในวันที่ 22 มีนาคม 2549
          3. แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้จนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2549 โดยขอรับและยื่นหนังสือแจ้งเหตุที่นายอำเภอ
              ปลัดเทศบาล หรือผอ.เขตของกทม. หรือมอบหมายผู้มีสิทธิเลือกตั้งแจ้งให้ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
การไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า
          ผู้ ที่มีธุระไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้ง ให้เลือกตั้งล่วงหน้าได้โดยลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางของเขต เลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 25-26 มีนาคม 2549 และเมื่อลงคะแนนล่วงหน้าแล้ว จะไปลงคะแนนในวันเลือกตั้งอีกไม่ได้

หลักฐานที่ต้องใช้ในวันเลือกตั้ง
           1. บัตรประจำตัวประชาชน (หมดอายุก็สามารถใช้ได้) หรือ
           2. ใบรับคำขอมีบัตร หรือเปลี่ยนบัตรใหม่ที่ติดรูปถ่ายและประทับตราเจ้าหน้าที่ (ใบเหลือง) หรือ
           3. ใบแทนใบรับคำขอมีบัตรที่ติดรูปถ่ายและประทับตราเจ้าหน้าที่ (ใบชมพู) หรือ
           4. บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ หรือ
           5. ใอนุญาตขับรถ ที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบกที่มีหมายเลขประจำตัว และรูปถ่าย หรือ
           6. หนังสือเดินทางที่ออกโดยกระทรวงการทางต่าประเทศที่มีหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และรูปถ่าย

ขั้นตอนการลงคะแนน
          1. ตรวจลำดับที่ของตนในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ปิดประกาศไว้
          2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน ลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
          3. ลงลายมือชื่อที่ต้นขั้วบัตร รับบัตรเลืออกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
              และแบบบัญชีรายชื่อ
          4. เข้าคูหา ประทับตราเครื่องหมาย x ลงบนบัตรเลือกตั้ง บัตรละ 1 กากบาท และถ้าไม่ต้องการเลือกใครก็ประทับ
              ตรา x ที่ช่องไม่ลงคะแนน
          5. หย่อนบัตรทั้ง 2 ใบ ลงในหีบบัตร 2 หีบ หีบละ 1 ใบ

ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุ จะต้องเสียสิทธิ 8 ประการ          1. สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
          2. สมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนัน ผู่ใหญ่บ้าน
          3. ร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมากชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
          4. ร้องคัดค้านการเลือกตั้งกำนัน ผู่ใหญ่บ้าน
          5. เข้าชื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย
          6. เข้าชื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
          7. เข้าชื่อให้ส.ว. ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
          8. เข้าชื่อให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
"การเสียสิทธิ 8 ประการนี้ จะได้กลับคืนมา เมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว. ครั้งต่อไป"

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทดสอบสร้างบล็อก

วันที่ 16/06/2011 

เวลา 9:20

สถานที่ - ณ โรงเรียนภูเขียว ห้อง ไอแม็ค

เนื้อหาที่ได้เรียนรู้การสร้างบล็อก
- ได้เรียนรู้ ขั้นตอนการสมัคร

 ความรู้สึก 
-มันทำยากมากๆ แต่ก็รเข้าใจดี